วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ส่งงานวันที่22 ก.ค. 2551

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่าย มีหลายประเภทด้วยกัน อุปกรณ์แต่ละชนิดมีขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้ง LAN และ WAN ประกอบด้วย บริดจ์ (Bridge) เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch)
เมื่อต้องการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ หลาย เครือข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบที่ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เชื่อมโยงถึง โดยทั่วไปเรามักใช้ระบบ การรับส่งข้อมูลเป็นชุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "แพ็กเก็ต" (Packet) ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต สามารถเคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางได้ โดยผ่านอุปกรณ์เลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางสามารถเลือกผ่านทั้งทางด้านเครือข่าย LAN และ WAN โดยปกติมีการกำหนดแอดเดรสของตัวรับและตัวส่ง ดังนั้น จึงต้องมีแอดเดรสปรากฎอยู่ในแพ็คเก็ต อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายทุกหน่วยจึงมีแอดเดรสกำกับแอดเดรสหรือตำแหน่งที่อยู่มีรูปแบบที่ชัดเจน ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐาน เช่น แอดเดรสที่ใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้รหัสตัวเลข 32 บิต ที่เรียกว่า "ไอพีแอดเดรส" (IP Address) แพ็กเก็ตข้อมูลทุกแพ็กเก็ตจึงมีข้อมูลที่บ่งบอกว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากที่ใด และ ปลายทางอยู่ที่ใด การเลือกเส้นทาง..จึงขึ้นอยู่กับแอดเดรสที่กำหนดในแพ็กเก็ต เมื่อแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านมายังอุปกรณ์ต่าง ๆ อุปกรณ์เหล่านั้นจะตรวจสอบดูว่า แอดเดรสต้นทางและ ปลายทางอยู่ที่ใด จะส่งผ่านแพ็กเก็ตนั้นไปยังเส้นทางใด เพื่อให้ถึงจุดหมายตามต้องการ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมีหลายประเภทด้วยกัน อุปกรณ์แต่ละชนิดมีขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้ง LAN และ WAN ประกอบด้วย บริดจ์ (Bridge) เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch)
บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)

อุปกรณ์หลักในการเชื่อมโยงเครื่อข่าย ridge,Router และ Switch

เราเตอร์ (Router)
เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุด ก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WAN ได้
ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากทำให้การใช้งานเราเตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเองได้
เมื่อเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการทำงานได้เร็วขึ้น จึงมีผู้พัฒนาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียกว่า "สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล" (Data Switched Packet) โดยลดระยะเวลาการตรวจสอบแอดเดรสลงไป การคัดแยกจะกระทำในระดับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เชิงความเร็วและความแม่นยำสูงสุด อุปกรณ์สวิตช์ข้อมูลจึงมีเวลาหน่วงภายในตัวสวิตช์ต่ำมาก จึงสามารถนำมาประยุกต์กับงานที่ต้องการเวลาจริง เช่น การส่งสัญญาณเสียง วิดีโอ ได้ดี

สวิตช์ (Switch)
อุปกรณ์สวิตช์มีหลายแบบ หากแบ่งกลุ่มข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเล็ก ๆ และเรียกใหม่ว่า "เซล" (Cell) กลายเป็น "เซลสวิตช์" (Cell Switch) หรือที่รู้จักกันในนาม "เอทีเอ็มสวิตช์" (ATM Switch) ถ้าสวิตช์ข้อมูลในระดับเฟรมของอีเทอร์เน็ต ก็เรียกว่า "อีเทอร์เน็ตสวิตช์" (Ethernet Switch) และถ้าสวิตช์ตามมาตรฐานเฟรมข้อมูลที่เป็นกลาง และ สามารถนำข้อมูลอื่นมาประกอบภายในได้ก็เรียกว่า "เฟรมรีเลย์" (Frame Relay)
อุปกรณ์สวิตชิ่งจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ใช้กับความเร็วของการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เช่น เฟรมรีเลย์ (Frame Relay) และเอทีเอ็ม สวิตช์ (ATM Switch) สามารถสวิตช์ข้อมูลขนาดหลายร้อยล้านบิตต่อวินาทีได้ เทคโนโลยีนี้จึงเป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยม
การออกแบบและจัดรูปแบบเครือข่ายองค์กรที่เป็น "อินทราเน็ต" ซึ่งเชื่อมโยงได้ทั้งระบบ LAN และ WAN จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงต่าง ๆ เหล่านี้ อุปกรณ์เชื่อมโยง ทั้งหมดนี้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากเครือข่ายพื้นฐานเป็นอีเทอร์เน็ต ก็สามารถเชื่อมเข้าสู่ ATM Switch, Frame Relay, or Bridge, Router ได้ ทำให้ขนาดของเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การต่อสาย Lan

รูปของคีมหรือ Crimping Tool ด้านหน้าที่จะใช้แค้มสาย

การนำเข้าไปใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของ RJ-45


การแยกแต่ละคู่ออกมาเป็นเส้น โดยให้ไล่สีดังนี้
ขาวส้ม ---> ส้ม ---> ขาวเขียว ---> น้ำเงิน ---> ขาวน้ำเงิน ---> เขียว ---> ขาวน้ำตาล ---> น้ำตาล

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การต่อสาย Lan งานชิ้นที่ 5

การต่อสาย Lan
การทำสายสัญญาณ เพื่อใช้เองในบ้านหรือในสำนักงานขนาดเล็กก็ได้ วิธีการก็ไม่มีอะไรมากอย่างแรกเลยก็จัดเตรียมเรื่องของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ให้ครบถ้วนก่อนจะได้ไม่ต้องวิ่งหาตอนติดตั้ง โดยอุปกรณ์โดยทั่วไปก็มี สายสัญญาณหรือ UTP Cable หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าสาย LAN แล้วก็หัว RJ-45 (Male), Modular Plug boots หรือตัวครอบสาย หากว่ามี Wry Marker แล้วก็จะมีเหมือนกันเพราะว่าจะช่วยในการทำให้เราจำสายสัญาณได้ว่าปลายด้านไหนเป็นด้านไหน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วก็จะเป็นหมายเลข ไว้ใส่ในส่วนปลายทั้งสองด้านเพื่อให้ง่ายในการตรวจสอบระบบสายสัญญาณ คีมแค้มสายสัญญาณ หรือ Crimping Tool, มีดปอกสาย หรือ Cutter
เอาละมาว่ากันเลยดีกว่าก่อนอื่นก็หยิบมีดหรือ Cutter อันเล็ก ๆ มาอันหนึ่งแล้วก็เล็งไปที่นิ้วจากนั้นก็ตัดนิ้วทิ้งไปซะ แล้วค่อยเอาหัว RJ มาต่อกับนิ้วแทน เท่านี้คุณก็สามารถเชื่อมต่อตัวคุณเองเข้าสู่ระบบเครือข่ายด้วยความไวสูงสุดถึง 100 มิลลิลิตรต่อนาที บางทีอาจจะเป็น Full Duplex Mode อีกต่างหาก ล้อเล่น ๆ เอาละนะใช้มีดปอกสายสัญญาณที่เป็นฉนวนหุ้มด้านนอกออกให้เหลือแต่ สายบิดเกลียวที่อยู่ด้านใน 8 เส้นแล้วก็จะเห็นด้ายสีขาว ๆ อยู่ให้ตัดทิ้งได้ โดยการปอกสายสัญญาณนั้นให้ปอกออกไว้ยาว ๆ หน่อยก็ได้ประมาณสัก 1 เซ็นครึ่งก็น่าจะได้นะตามตัวอย่างดังรูปข้างล่างนี้

................................ตรงนี้รูปภาพ..........................................

จากนั้นก็ให้ใส่ Modular Plug boots เข้ากับสาย UTP ด้านที่กำลังจะต่อกับหัว RJ-45 ไว้ก่อนเลยดังรูป ข้างล่างนี้

............................รูปภาพ......................................................


รูปแสดงคีมหรือ Crimping Tool ที่จะใช้ในการแค้มหัว อันนี้เป็นของยี่ห้อ Amp ราคาในตลาดก็คงประมาณ 5,000-6,000 บาทมั้งแต่ถ้าไม่ได้ใช้เยอะก็แนะนำให้เดินซื้อแถวพันทิพย์ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ทุกมุมในปัจจุบันนี้ ถ้าเอาแบบพอใช้ได้ราคาก็ประมาณ 400-800 บาท คุณภาพก็พอใช้ได้นะ ผมก็เคยซื้อมาใช้หลายอันแล้ว แต่ของ Amp นี้ค่อนข้างน่าใช้และชัวร์กว่าเยอะในการเข้าสาย แต่ราคานี่สิผมว่ามันไม่ค่อยจะน่าสนเท่าไหร่ ถ้าเราไม่มีอาชีพในการทำงานด้านนี้เฉพาะหรือ ต้องมีการเดินระบบสายสัญญาณบ่อย ๆ

....................................................รูปภาพ................................................
รูปของคีมหรือ Crimping Tool ด้านหน้าที่จะใช้แค้มสาย

...................................................รูปภาพ........................................
หลังจากที่ปอกสายเสร็จแล้วก็ให้ทำการแยกสายทั้ง 4 คู่ที่บิดกันอยู่ออกเป็นคู่ ๆ ก่อนโดยที่ให้แยกคู่ต่าง ๆ ตามลำดับต่อไปนี้ ส้ม-ขาวส้ม ---> เขียว-ขาวเขียว ---> น้ำเงิน-ขาวน้ำเงิน ---> น้ำตาล-ขาวน้ำตาล เพื่อแบ่งสายออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ๆ ก่อน จากนั้นจึงค่อยมาทำการแยกแต่ละคู่ออกมาเป็นเส้น โดยให้ไล่สีดังนี้
ขาวส้ม ---> ส้ม ---> ขาวเขียว ---> น้ำเงิน ---> ขาวน้ำเงิน ---> เขียว ---> ขาวน้ำตาล ---> น้ำตาล
ซึ่งสีที่ไล่นี้เป็นสีที่ใช้เป็นมาตรฐานในการเชื่อมต่อ ซึ่งจริง ๆ แล้วการเข้าสายมีมาตรฐานการไล่สีอยู่หลัก ๆ ก็ 2 แบบแต่ในที่นี้ผมเอาแบบนี้แล้วกันเพราะว่าส่วนมากแล้วเขาจะใช้วิธีการไล่สีแบบนี้ หลังจากจัดเรียงสีต่าง ๆ ได้แล้วก็ให้จัดสายให้เป็นระเบียบ ให้พยายามจัดให้สายแต่ละเส้นชิด ๆ กัน ดังรูป

..............................................รูป........................................................
หลังจากนั้นให้ใช้คีมตัดสายสัญญาณที่เรียงกันอยู่นี้ให้มีระบบปลายสายที่เท่ากันทุกเส้น โดยให้เหลือปลายสายยาวออกมาพอสมควร จากนั้นก็ให้เสียบเข้าไปในหัว RJ-45 ที่เตรียมมา โดยให้หันหัว RJ-45 ดังรูปจากนั้นค่อย ๆ ยัดสายที่ตัดแล้วเข้าไป โดยพยายามยัดปลายของสาย UTP เข้าไปให้สุดจนชนปลายของช่องว่าในหัว RJ-45 เลย

...........................................รูป................................................................
จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเชื่อมต่อสายสัญญาณในช่วงนี้ก็คือต้องยัดฉนวนหุ้มที่หุ้มสาย UTP นี้เข้าไปในหัว RJ-45 ด้วย โดยพยายามยัดเข้าไปให้ได้ลึกที่สุดแล้วกัน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการหักงอของสายง่าย โดยให้ยัดเข้าไปให้ได้ดังรูปข้างล่างนี้

...........................................รูป..........................................................
แล้วก็นำเข้าไปใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของ RJ-45 ในคีมที่จะใช้แค้มหัว หรือ Crimping Tool ให้ลงล็อกของคีมพอดี จากนั้นก็ให้ทำการกดย้ำสายให้แน่น เพื่อให้ Pin ทีอยู่ในหัว RJ-45 นั้นสัมผัสกับสายทองแดงที่ใส่เข้าไป บรรจงนิดหนึ่งนะครับในช่วงนี้ เพราะว่าเป็นช่วงหัวเลียวหัวต่อของชีวิตสายสัญญาณของคุณเลยแหละ เท่าที่ประสบการในการเข้าสายสัญญาณของผม ถ้าเป็นไอ้เจ้า Amp นี่ก็ไม่ต้องออกแรงมากเท่าไหร่ก็ OK ได้เลย แต่ถ้าเป็นแบบของทั่ว ๆ ไปก็คงต้องออกแรงกดกันนิดหนึ่งแล้วกัน

......................................................รูป.................................................

อ้า...ท้ายที่สุดก็จะได้ปลายสัญญาณของระบบที่คุณต้องการดังกล่าวดังรูป ที่นี้ก็ไปทำอย่างที่ว่ามานี้อีกครั้งหนึ่งที่ปลายสายอีกด้านหนึ่ง แต่อย่าหลงเข้าใจผิดว่านี่เป็นสาย Cross นะ เพราะว่าสาย Cross นั้นคุณต้องทำการสลับสายสัญญาณที่เข้านี้ ลองไปดูหัวข้อ Tip of the Day นะผมแนะนำการเข้าสาย Cross ไว้ที่นั่นแล้ว เพราะว่าการเข้าสายทั้งสองแบบนี้การไล่สีของสายไม่เหมือนกัน แตกต่างกันนิดหน่อย ส่วนสาย Cross เราสามารถนำเอาไปเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องให้เป็นระบบเครือข่ายได้โดยที่ไม่ต้องใช้ HUB ได้เลย แต่ได้แค่ 2 เครื่องเท่านั้น ส่วนสายแบบที่ต่อตรง ๆ นั้นจะใช้เชื่อมต่อจากเครื่องคอมพิวเตอร์มายัง HUB.........